วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แบบบ้าน Amber (NH 882) สไตล์โมเดิร์นเอกลักษณ์ที่เผยธรรมชาติของวัสดุที่ใช้ และรูปทรงที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยสูงสุด



แบบบ้าน                 
Amber (NH 882)
พื้นที่ใช้สอย                  300.00 ตารางเมตร
ขนาดของตัวบ้าน          กว้าง 13.00  เมตร ลึก 13.50 เมตร
ขนาดที่ดิน                    เนื้อที่ดินประมาณ 84 ตารางวา กว้าง 17.0  เมตร ลึก 17.50 เมตร
ลักษณะของบ้าน           บ้าน 2 ชั้น Modern Style
จุดเด่นของบ้าน            สไตล์โมเดิร์นเอกลักษณ์ที่เผยธรรมชาติของวัสดุที่ใช้ และรูปทรงที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยสูงสุด   ให้ความเรียบง่าย แต่เบื่อยาก เน้นรูปแบบการใช้งาน (Functional) พื้นที่ในบ้านจะไม่มีการปิดกั้นทางสายตา เพราะจะเชื่อม space ให้ดูเห็นทั่วกันหมด เกิดความโปร่งโล่งสบาย  ใช้เส้นสายรูปทรงเรขาคณิตสี่เหลี่ยมมาใช้   สีสันที่ใช้เล่นเพียง 3 สีเท่านั้น  คือ ขาว เทา และน้ำตาล การใช้องค์ประกอบที่ดูน้อยเช่นนี้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอยู่สบาย ไม่เลี่ยน  เลือกใช้วัสดุที่เป็นที่นิยม นั่นคือ เหล็ก กระจก และไม้ฝ้าทาสี นอกจากนี้ยังใช้กรอบบานประตู-หน้าต่างสีดำเพิ่มความน่าสนใจในบ้านแบบนี้มากขึ้น

ส่วนประกอบของบ้าน  4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ ห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหาร ห้องเตรียมอาหาร ครัวไทย ห้องนอนแม่บ้าน ห้องเก็บของ 2 ห้อง ระเบียงนั่งเล่น  ที่จอดรถ 2 คัน



วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สร้างบ้านเพื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco-design concept)

โดยทั่วไปแล้วการออกแบบหรือสร้างบ้านเพื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณาไปในด้านหลักๆ ได้ 2 ด้านคือ การเลือกใช้เทคโนโลยี และการเลือกวัสดุและพืชพันธ์ โดยมีรายละเอียดแต่ละด้านดังต่อไปนี้
1. ด้านเทคโนโลยี (eco-design technology)
เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับบ้าน ประกอบไปด้วย 3 ด้านคือ ด้านพลังงาน ด้านการระบบรดน้ำต้นไม้ และการออกแบบด้วยระบบธรรมชาติ (passive design) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1     การเลือกใช้ระบบผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (solar collector) เป็นอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานจากรังสีแสงอาทิตย์มาเพิ่มอุณหภูมิให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นซึ่งสามารถนำมาทดแทนระบบผลิตน้ำร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแหล่งพลังงานอื่นๆ โดยจะมีประโยชน์ในการลดการใช้พลังงานเหล่านั้นลงไป ตัวอย่างดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 ตัวอย่างระบบ solar collector (ที่มา- eakaphatenergy.com)


โดยระบบผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับระบบผลิตน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศ (Heat Recovery System), ระบบผลิตน้ำร้อนจากปล่องควัน เรียกว่า ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (Solar Hybrid System) ซึ่งเป็นระบบที่สามารถนำพลังงานฟรีจากแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับพลังงานความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องต้มน้ำ (boiler) จึงเป็นระบบที่มีระยะเวลาคืนทุนที่เร็วที่สุด (สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 2556)
1.2     ระบบการส่งน้ำรดต้นไม้แบบกึ่งอัตโนมัติ (semi-automatic water irrigation system – SWI) เนื่องจากการรดน้ำต้นไม้เป็นกิจกรรมหลักของการดูแลรักษาสภาพของภูมิทัศน์ ระบบการส่งน้ำเป็นประเด็นที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะระบบที่นิยมใช้เป็นระบบที่อาศัยแรงดันน้ำจากจักรกล แต่ระบบดังกล่าวใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน จึงเป็นการเพิ่มต้นทุนในการบริหารจัดการในระยะยาว ดังนั้นระบบที่เห็นควรนำมาพิจารณาใช้คือระบบที่ลดการใช้เครื่องจักรกลในกิจกรรมดังกล่าว และพยายามปล่อยให้การไหลแบบธรรมชาติด้วยแรงโน้มถ่วง และระบบการไหลซึมผ่านวัตถุพรุนน้ำเป็นตัวขับเคลื่อนการไหล
1.3     แนวทางการออกแบบอาคารแบบประหยัดพลังงาน โดยทั่วไปแล้วการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานนั้นมีแนวทางการออกแบบ 2 รูปแบบคือ แบบอาศัยเครื่องจักรกล (active design) และแบบเน้นพึ่งพาธรรมชาติ (passive design) ซึ่งทั้งสองรูปแบบพยายามจะให้เกิดภาวะอยู่สบายแต่มีภาคปฏิบัติต่างกัน ทั้งนี้การออกแบบและนำไปก่อสร้างควรเลือกให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทรอบข้าง เช่นการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของผู้อยู่อาศัยในเรื่องพื้นที่ใช้สอย การเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งานและความยืดหยุ่นในการวางตำแหน่งอาคาร ซึ่งสามารถสรุปผลเป็นรูปธรรมต่อรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ยกตัวอย่างเช่น การวางแนวอาคารในทิศเหนือ-ใต้ เพื่อให้พื้นที่รับแดดอยู่ด้านแคบ แต่เปิดรับลมได้ดี กำหนดตำแหน่งช่องเปิดให้รับลมประจำทิศใต้ ให้สามารถเข้า-ออก และกระจายทั่วอาคารได้ ปรับสภาพแวดล้อมรอบอาคาร โดยอาศัยประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้การออกแบบเพื่ออาคารประหยัดพลังงานเต็มรูปแบบ (เพราะมีผลต่อค่าใช้จ่าย) แต่การเลือกใช้ในบางประเด็นที่ลงทุนไม่มากแต่ได้ผลดี


2. เทคโนโลยีการเลือกวัสดุและพืชพันธ์ (eco-material technology and planting)
ในส่วนนี้จะเน้นไปที่วัสดุที่ไม่ใช่ส่วนของอาคารโดยตรง ซึ่งจะเน้นไปที่วัสดุส่วนภูมิทัศน์และงานบริเวณอื่นๆ เช่นที่จอดรถ ทางเท้า และถนน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลออัตราการไหลของน้ำผิวดินที่เกิดจากฝนตก (ลดการสึกก่อนของพื้นผิว) เพิ่มพื้นที่สีเขียวแต่ยังคงความแข็งแรง ในขณะที่การเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมนั้น จะมีส่วนช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุง-ดูแล และยังไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศน์เดิมของพื้นที่อีกทางหนึ่งด้วย จึงนำเสนอรูปแบบการออกแบบโดยเน้นการเลือกวัสดุมาใช้งานในแต่ละจุดดังต่อไปนี้
2.1     เลือกใช้บล็อกหญ้าในการปูที่จอดรถ (grass block) ที่จอดรถเป็นที่โล่งที่ปกติอยู่กลางแจ้งและเป็นที่รับน้ำฝนโดยตรง ทั้งนี้โดยทั่วไปที่จอดรถอาจเทคอนกรีตปกติก็สามารถใช้งานตามวัตถุประสงค์แล้ว แต่ปัญหาของลานคอนกรีตคือการสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ไปยังพื้นที่รอบข้าง รวมไปถึงการที่ไม่สามารถหน่วงการไหลของน้ำได้ดีทำให้อาจเกิดการไหลที่เร็วเกินไปจนสร้างความเสียหายสึกกร่อนได้ ดังนั้นควรเลือกใช้ grass block แทน เพื่อให้หญ้าลดการสะท้อนของแสงอาทิตย์และเพิ่มสัดส่วนพื้นผิวที่น้ำซึมผ่านได้ง่าย โดยมีตัวอย่างของ grass block ดังแสดงในรูปที่ 2

                           

                           

รูปที่ 2ตัวอย่างของ grass block ที่มา – (vanstone.co.za/node/10)

2.2     เลือกใช้พืชท้องถิ่น (native plant) การเลือกใช้พืชท้องถิ่นนั้นมีประโยชน์หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดปัญหาการบำรุงรักษา เนื่องจากพืชท้องถิ่นมักทนต่อสภาพท้องถิ่น ทนต่อโรคได้ดี อีกทั้งยังไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศน์เดิมของพื้นที่ เนื่องจากต้นไม้มักเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งสัตว์บางประเภทต้องอาศัยพืชหรือต้นไม้บางชนิดเท่านั้น นอกจากนี้ตำแหน่งของการวางต้นไม้ใหญ่ ในด้านที่เหมาะสมก็จะช่วยทำให้ลดความร้อนเข้าสู่อาคารซึ่งการออกแบบควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

บทสรุป
ข้างต้นเป็นแนวทางในเบื้องต้น ซึ่งในการทำงานจริงเมื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งเรื่องข้อจำกัดอื่นๆที่จะเกิดขึ้น จะทำให้แนวทางการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ไม่มีแนวทางใดเหมาะสมกับทุกสถานที่ ดังนั้นการศึกษา-วิจัยที่เหมาะสมจะทำให้การออกแบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์

เรื่องโดย  ดร. ดำรงศักดิ์  รินชุมภู 
13 กุมภาพันธ์ 2557



วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ห้องเล็กแต่ความคิดกว้าง Small Bedroom Design …



ท่านผู้อ่านอาจจะเคยอยู่หรือยังใช้ชีวิตอยู่ในห้องนอนพื้นที่เล็กๆ แต่อยากจัดตกแต่งห้องให้สวย แต่จนใจด้วยข้าวของเครื่องใช้ที่เยอะ ทำให้คิดไม่ออกว่าจะจัดวางอย่างไรให้ดูดี  ผู้เขียนจึงนำไอเดียที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดและตกแต่งห้องนอนเล็กที่น่าสนใจมาฝาก 


ห้องนอน หนอนหนังสือ สำหรับผู้ที่มีหนังสือเยอะ ตู้หนังสือไม่พอใส่ หรือไม่มีที่วางตู้แล้ว การใช้ผนังห้องให้เป็นชั้นหนังสือ



นอกจากประหยัดพื้นที่วางตู้หนังสือแล้ว ยังทำให้ห้องดูเก๋ ทันสมัย ชั้นวางหนังสือลอยนี้มีขายหาซื้อได้ทั่วไป แถมยังไม่แพงและติดตั้งง่าย หรือแบบที่ 2 ใช้งานคุ้มค่าโดยใช้เตียงนอนเป็นที่เก็บหนังสืออีกชั้น เป็นไอเดียที่เจ๋งและช่วยให้คุณมีพื้นที่จัดเก็บหนังสือได้มากขึ้น (แต่อาจต้องลงทุนสั่งทำเตียงพิเศษ)

More Space better life ห้องที่กว้างขึ้น  ชีวิตที่กว้างขึ้น  

      การยกที่สำหรับนอนขึ้นด้านบน ทำให้มีพื้นที่อิสระอีกมากในการทำ (รก) อย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งโซฟาสำหรับดูหนัง   ห้องโชว์ผลงานแฟชั่นสำหรับสาวแฟชั่นนิสท์ต้า  หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่โปรดปราน พื้นที่มากขึ้นอาจทำให้คุณมีพลังและความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำ อะไรใหม่ๆ ในชีวิต





Less is More เรียบง่าย สมดุล และเติมเต็ม...แบบน้อยแต่มาก...

การจัดห้องแนวนี้ อย่างแรกคืออาจต้องกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากห้องไปบ้าง แล้วเลือกของที่ต้องการจริงๆไว้ แล้วเลือกเตียงแบบมีลิ้นชักที่ช่วยเก็บของ ทำให้ได้พื้นที่ปิดในการจัดเก็บ ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ปลายเตียงยังมีพื้นที่วางโต๊ะทำงานหรืออ่านหนังสือ บิ้วท์ชั้นหนังสือแบบเปิดสำหรับวางหนังสืออ่านเล่นสบายๆ  สีของผ้าม่าน พรม ผ้าปู หรือหมอน เลือกสีตามใจสร้างสไตล์ของตัวเอง การใช้ของสะสมมาตกแต่งเพิ่มความน่าอยู่ให้ห้อง อาจเป็นโปสเตอร์หนัง ตัวละการ์ตูนที่ชอบ บ่งบอกชีวิตในแบบของตัวเอง



Vertical Bedroom ที่นอนแนวตั้ง รูปแบบห้องนอนแบบนี้อาจเป็นวัยรุ่นหน่อย เพราะต้องอาศัยการปีนขึ้น พื้นที่ด้านล่างใช้ประโยชน์ทั้งตู้เสื้อผ้า ชั้นหนังสือ ถ้าพื้นที่พอมียังใส่โซฟาน่านั่ง กับโต๊ะหนังสือแบบโมเดิร์นๆ ใช้สีห้องโทนอ่อน เพิ่มความสว่างและสดใสให้ห้อง หรือใช้กรอบรูปแนวอาร์ทๆที่ชอบมาประดับสักรูปสองรูป ก็ทำให้ห้องนอนดูดีขึ้นไม่น้อย



Together we share….แบบสุดท้ายคือห้องนอนที่ต้องใช้พื้นที่ร่วมกับ roommate อาจเป็นคู่พี่น้อง พี่สาว-น้องสาว หรือของ


เด็กผู้ชายซนๆ การจัดเตียงนอนแบบแนวราบน่าจะเหมาะกับเด็กๆ มากกว่าเตียงสองชั้น แบบแรกใช้เป็นแบบการวางเตียงตามแนวขนานของห้อง ชิดริมใดริมหนึ่ง  บิ้วชั้นวางของหรือชั้นหนังสือขนานไปกับเตียง เตียงนอนเลือกเป็นได้ทั้งที่นอนและที่นั่งเล่น อีกด้านจัดเป็นตู้เสื้อผ้า คั่นกลางด้วยโต๊ะคอมพิเตอร์  ส่วนห้องนอนอีกห้องจัดเตียงแบบเล่นระดับ ไม่เน้นพื้นที่แต่งตัว แต่เน้นพื้นที่โล่ง กว้างสำหรับงานอดิเรก และพื้นที่กว้างสำหรับทำรก การใช้โทนสีอ่อนช่วยให้ห้องดูสว่างสไสว หรือถ้าเป็นห้องเด็กผู้หญิง การเล่นโทนสีชมพูไล่เฉดก็เพิ่มความอ่อนหวานให้ห้องและดูไม่เลี่ยนจนเกินไป




วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Zircon อัญมณีงาม สู่การสร้างบ้านอย่างสร้างสรรค์


แบบบ้าน 
Zircon (NH 876) หมายถึงอัญมณีเพทาย เป็นอัญมณีสีฟ้าอมเขียว มีความเชื่อว่า เป็นอัญมณีสำหรับคนที่เกิดเดือนธันวาคม ช่วยให้หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ และช่วยปกป้องคุ้มครอง




ดังนั้นการสร้างบ้านที่มีชื่อสิริมงคล มีความหมายที่ดี คงนำพาความสุขและสิ่งดีๆมาสู่ชีวิตของผู้อาศัยในบ้านหลังนี้
แบบบ้าน Zircon (NH 876)

          Zircon
อัญมณีหลังนี้ ตั้งอยู่ใน ซอยสุขุมวิท 93 บนเนื้อที่ 100 ตารางวา ซึ่งอยู่ในย่านบ้านเดิมซึ่งเป็นบ้านรุ่นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว  พอเนเชอรัลโฮมเข้ามาสร้างบ้านหลังนี้  จึงเป็นสิ่งแปลกตาและดูโดดเด่นออกจากสิ่งก่อสร้างย่านนี้เป็นอย่างมาก


              สไตล์ที่ชัดเจนของ Zircon คือ เรียบง่าย แต่เบื่อยาก เน้นรูปแบบการใช้งาน (Functional) มีความเรียบง่ายแต่ดูเก๋ ใช้เส้นสายรูปทรงเรขาคณิตสี่เหลี่ยมมาใช้   สีสันที่ใช้จะเล่นเพียง 2-3 สีเท่านั้น  คือ ขาว เทา และน้ำตาล การใช้องค์ประกอบที่ดูน้อยเช่นนี้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอยู่สบาย ไม่เลี่ยน


             การเลือกวัสดุที่ใช้ นอกจากความสวยงามและคอนเซ็ปแบบโมเดิร์น เรื่องความอยู่สบาย ไม่ร้อน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ จึงใช้กรอบบานประตูหน้าต่างสี่เหลี่ยมบานสูงใหญ่ ช่วยระบายอากาศในบ้านได้เป็นอย่างดี  ฝ้าชายคาเป็นแบบรุ่นระบายอากาศผนังบ้านยังมีไม้ฝาช่วยซับความร้อนจากผนังอีกชั้นหนึ่งด้วย



วัสดุที่ใช้และบรรยากาศ...การแต่งบ้านสไตล์นี้นี้  เลือกใช้วัสดุที่เป็นที่นิยม นั่นคือ เหล็ก กระจก นอกจากนี้ยังใช้กรอบบานประตู-หน้าต่างสีดำเพิ่มความน่าสนใจในบ้านแบบนี้มากขึ้น การตกแต่งพื้นที่ในบ้านจะไม่มีการปิดกั้นทางสายตา เพราะจะเชื่อม space ให้ดูเห็นทั่วกันหมด เกิดความโปร่งโล่งสบาย ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น และเน้นเฉพาะชิ้นที่จำเป็น  การใช้ไฟตามหลืบฝ้าเพดานหรือใต้เคาน์เตอร์ Built-in โดยเน้นไฟบางจุดที่จำเป็นต้องใช้สายตาเช่น โต๊ะทำงาน หรือโต๊ะกินข้าว ทำให้บ้านดูมีมิติแลดูกว้างขวาง